วันอาทิตย์ที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เล่นกีฬามือซ้ายหรือขวาดีกว่ากัน

มีน้องคนหนึ่ง พูดว่า " มือ 1 ของโลกชื่อหลิน ดาน ของจีน เล่นมือซ้ายเหมือนผมด้วย เก่ง..โค...ตะ....ระ...." เลยทำให้นึกถึง ระบบสั่งงานของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาของคนเรา ที่มีปฏิสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนากีฬาอย่างยิ่งสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ สมองซีกซ้าย [ Left cerebral hemisphere] ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายซีกขวา และเรื่องที่เกี่ยวกับ1.สติปัญญาแบบเหตุผล, 2.ตัวเลข, 3.การคิดแบบนามธรรม, 4.การคิดเป็นเส้นตรง, 5.การวิเคราะห์, 6.ไม่ใช้การจินตนาการ, 7.การคิดแบบต่อเนื่องตามลำดับ, 8.วัตถุวิสัย, 9.คำพูดสมองซีกขวา [Right cerebral hemisphere] ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายซีกซ้าย และเรื่องที่เกี่ยวกับ1. สหัชญาน(ไม่เกี่ยวกับเหตุผล) 2.การอุปมาอุปมัย, 3.การคิดแบบรูปธรรม, 4. การคิดอิสระไม่เป็นเส้นตรง, เห็นภาพทั้งหมด, 5.การสังเคราะห์, 6.การใช้จินตนาการ, 7. การคิดไม่เป็นไปตามลำดับ มีความหลากหลายเชื่อมต่อหลายมุม หรือมีมิติสัมพันธ์, 8.อัตวิสัย, 9.สิ่งที่ไม่ต้องใช้คำพูด, เห็นเป็นภาพสมองน้อย [Cerebellum] ทำหน้าที่การทรงตัว การประสานงานของกล้ามเนื้อ ก้านสมอง [Brain stem] เป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่นำคำสั่งจากสมองไปยังร่างกาย นอกจากนั้นยังควบคุมการหายใจ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ จากข้อมูลข้างต้น คนที่ถนัดด้านซ้าย ก็จะได้เปรียบเริ่องการพัฒนาสมองซีกขวาได้ดีกว่า จึงเหมาะสำหรับการสร้างจินตนาการ การสร้างจินตภาพ (โปรดดูเรื่อง จินตภาพ - คัมภีร์เทวดา ของ อาจารย์ ดร.นภพร) คนตีมือซ้ายจึงจึงได้เปรียบในเรื่องของความคิดที่เป็นอิสระไม่ต้องใช้เหตุผล คนมีชื่อเสียงระดับโลกหลายคนถนัดมือซ้าย (คนแถบยุโรป อเมริกา) มีการพัฒนาสมองซีกขวา เพราะใช้สติปัญญาความคิดสร้างสรรค์ แต่ขณะเดียวกันเมื่อมีดีก็ต้องมีด้อย เพราะถ้าเจอคู่ต่อสู้ที่หนียวแน่น อดทนในการเล่นเกมที่ต้องใช้ระยะเวลานานๆแล้ว ผลจากการใช้สมองซีกขวาที่เริ่มอ่อนล้า การตีลูกที่เคยแม่นยำด้วยการมโนภาพ ก็จะมีอาการตีลูกเสียให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ร่างกายด้านซ้ายของคนเราตามปกติเป็นที่ตั้งของหัวใจ การเคลื่อนไหวออกกำลังสำหรับคนที่ถนัดซ้ายมีผลทำให้หัวใจกระเทือนมากกว่า ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักเหนื่อยง่ายเร็วกว่า จากการสังเกตุโดยส่วนตัวเล่นหนักๆไปนานๆน่าจะมีผลเรื่องแก่เร็วด้วย ) ขอบอกใบ้ให้สังเกตกันเอาเองว่าคนเล่นแบดระดับแชมป์โลกถนัดมือซ้าย มักจะมีการควบคุมอารมณ์ในการเล่นต่างจากคนที่ถนัดมือขวาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งฝรั่งส่วนใหญ่นั้นจะถนัดมือซ้าย ส่วนคนที่ถนัดด้านขวาก็จะมีการพัฒนาสัมพันธ์กับสมองซีกซ้าย เพราะใช้สั่งงานบ่อย จึงพบได้บ่อยๆว่า พวกตีมือขวาจะควบคุมการตีลูกได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะกีฬาแบดมินตันแล้ว ในการเล่นการกะระยะ ทิศทาง ตำแหน่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสมองซีกซ้ายจะสั่งงานเกี่ยวกับการคาดคะเนต่างๆ การคำนวณกะระยะ ในการแข่งขันที่ยาวนาน ซึ่งต้องใช้สมาธิและความอดทน ใช้พลัง คนมือขวาคงได้เปรียบที่หัวใจไม่ได้อยู่ด้านขวามือ จะขอยกตัวอย่างงานวิจัยต่างๆ ที่มีการศึกษาวิจัยด้านกีฬาเกี่ยวกับความถนัดซ้ายหรือขวา ดังบทคัดย่อต่อไปนี้เลขที่งานวิจัย/ปี พ.ศ. 296/2542 ชื่อเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมการเคลื่อนไหวของสมองแต่ละซีกต่อการใช้ภาษาในคนที่ถนัดมือแต่ละข้าง ผู้ประพันธ์ สุดารัตน์ ลิปตรัตน์ หน่วยงานผู้ประพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดลสถานที่จัดเก็บข้อมูล มหาวิทยาลัยมหิดล บทคัดย่อภาษาไทย วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางควบคุมการใช้ภาษาและศูนย์กลางควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย (เช่น แขนและขา) เพื่อที่จะพัฒนาวิธีการใหม่ที่เป็นไปได้ในการชี้ตำแหน่งศูนย์กลางควบคุมการใช้ภาษา อาสาสมัครในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนจำนวน 70 คน (อายุระหว่าง 15-20 ปี) ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามความถนัดของมือ (30 คนถนัดมือขวา, 25 คนถนัดมือซ้าย และ 15 คนถนัดมือทั้งสองข้าง) การทดสอบประกอบด้วย 2 ชุด 1) การอ่านอย่างเดียวและอ่านพร้อมกับการเคาะนิ้วมือและนิ้วเท้าร่วมด้วยในภาวะการมองภาพเต็ม, การมองภาพครึ่งซีกด้านขวา และการมองภาพครึ่งซีกด้านซ้าย 2) การนับตัวเลขอย่างเดียวและการนับตัวเลขพร้อมกับการเคาะนิ้วมือและนิ้วเท้าร่วมด้วยผลการศึกษาปรากฎว่าในภาวะการมองเห็นภาพเต็ม (สัญญาณภาษาไปที่สมองทั้งสองซีก) และการมองภาพครึ่งซีกด้านขวา (สัญญาณภาษาส่วนใหญ่ไปที่สมองซีกซ้าย) อัตราการอ่านเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตราการเคาะนิ้วพร้อมๆ กับการอ่านลดลง (การถูกรบกวนของการเคาะนิ้วมือข้างขวาจะเห็นได้ชัดเจนในภาวะการมองภาพเต็ม) ในกลุ่มอาสาสมัครทุกกลุ่ม ในภาวะ การมองภาพครึ่งซีกด้านซ้าย (สัญญาณส่วนใหญ่ไปที่สมองซีกขวา) อัตราการอ่านลดลงและอัตราการเคาะนิ้วพร้อมๆ กันกับการอ่านลดลงด้วยในอาสาสมัครทุกกลุ่ม สำหรับกลุ่มคนถนัดมือข้างขวา อัตราการนับตัวเลขลดลงเมื่อนับตัวเลขพร้อมๆ กับการเคาะนิ้วเท้าทั้งสองข้าง (ทดสอบทีละข้าง) และอัตราการเคาะนิ้วมือและนิ้วเท้าทั้งสองข้าง (ทดสอบทีละข้าง) ลดลง เมื่อนับตัวเลขพร้อมกันกับการเคาะนิ้ว สำหรับคนถนัดมือข้างซ้าย อัตราการนับตัวเลขลดลง เมื่อนับตัวเลขพร้อมกันกับการเคาะนิ้วเท้าข้างซ้ายอย่างเดียว และอัตราการเคาะนิ้วมือทั้งสองข้างลดลง เมื่อเคาะนิ้วพร้อมกันกับการนับตัวเลข สำหรับคนถนัดมือทั้งสองข้าง อัตราการนับตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อนับตัวเลขพร้อมกันกับการเคาะนิ้ว ในทางตรงกันข้ามอัตราการเคาะนิ้วมือทั้งสองข้างลดลง เมื่อนับตัวเลขพร้อมกันกับการเคาะนิ้ว ผลการศึกษาที่ได้แสดงว่าแบบแผนของการอ่าน และการนับตัวเลขกระทำปฏิกิริยาต่อกันกับการเคาะนิ้วมือและนิ้วเท้าทั้งสองข้างคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างอาสาสมัครทั้ง 3 กลุ่ม น่าจะสรุปได้ว่าอาสาสมัครที่ถนัดมือขวา ถนัดมือซ้าย และถนัดทั้งสองข้างในการศึกษาครั้งนี้ การอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของศูนย์กลางควบคุมการใช้ภาษาอาจจะมีตำแหน่งอยู่ในสมองซีกซ้ายเป็นส่วนใหญ่ ข้อสรุปลงความเห็นเบื้องต้นนี้มีความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัยให้สมบูรณ์ขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์กันของแบบแผนของการทำปฏิกิริยาต่อกันเหล่านี้ด้วยวิธีการทางตรงที่ใช้บ่งชี้ตำแหน่งของศูนย์กลางการควบคุมการใช้ภาษา อย่างเช่น PET scan และ Wada Test ของกลุ่มอาสาสมัครทุกกลุ่มในอนาคตต่อไป ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นว่าถนัดซ้ายหรือถนัดขวาดีกว่ากัน แต่ต้องการมุ่งเน้นให้เป็นแนวทางการนำสมองทั้งสองซีกมาใช้งานผสานกันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากทำได้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็จะมีมากกว่าคนที่ฝึกการใช้สมองเพียงซีกเดียว ขอความสุขความสำเร็จจงเป็นของเพื่อนนักแบดทุกๅคนที่มา : http://www.badmintonthai.com

Biorhythms จังหวะพลังชีวิต

Biorhythms เป็นทฤษฎีที่ถูกค้นพบ โดยชาวอเมริกา โดยมีการคำนวณหาวงรอบของความสมบูรณ์ ทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านความคิดของคนเรา ซึ่งมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อทราบว่าในแต่ละวัน มีค่าความสมบูรณ์สูงสุดและต่ำสุดเท่าไร ลองสังเกตตัวเอง และจดสถิติดู คุณก็จะทราบว่าทฤษฎีนี้น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร นี่คือตัวอย่างการคำนวณ Biorhythms
http://www.badmintonthai.com/main/modules.php?name=Biorhythms